คลังสารสนเทศรัฐสภา
คลังสารสนเทศที่สงวนรักษาและให้บริการการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศด้านนิติบัญญัติที่เป็นเลิศ เพื่อสนับสนุนภารกิจของรัฐสภา และส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของประชาชน
ชุมชนและกลุ่มข้อมูล
คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติมุ่งเน้นการสงวนรักษาและบริการทรัพยากรสารสนเทศด้าน นิติบัญญัติและการเมืองการปกครอง เป็นแหล่งเรียนรู้และค้นคว้าเอกสารชั้นต้น เพื่อสนับสนุนภารกิจของรัฐสภา และส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของประชาชน ในด้านการเมืองการปกครอง กระบวนการตรากฎหมาย การทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติในการตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล และการให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญของประเทศ
รายการข้อมูลที่ป้อนล่าสุด
การสำรวจระดับการปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กรของข้าราชการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สิฐสร กระแสร์สุนทร; สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักวิชาการ กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2567-10)
การศึกษาเรื่องการสำรวจระดับการปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กรของข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กรทั้งค่านิยมของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและค่านิยมร่วมของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาของข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และศึกษาแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการปฏิบัติตนให้กับข้าราชการในด้านดังกล่าว โดยผู้ศึกษาใช้แบบสอบถามวัดระดับการปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กรในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับข้าราชการจากทุกหน่วยงานในสังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 327 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1. ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ที่ตอบแบบสอบถามในครั้งนี้เป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญทั้งประเภทวิชาการและประเภททั่วไป อายุเฉลี่ยประมาณ 45 ปีประสบการณ์ในการทำงานประมาณ 17 ปี มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 49,000 บาท และส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาตรี
2. การปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กรร่วมของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา พบว่าข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมีระดับการปฏิบัติตนโดยรวมอยู่ในระดับ “เป็นประจำ” เมื่อพิจารณารายด้านจะเห็นได้ว่าข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมีการปฏิบัติตนด้านมีวินัยสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านใจซื่อตรงและด้านสามัคคีตามลำดับ
3. การปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กรของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พบว่า ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมีระดับการปฏิบัติตนโดยรวมอยู่ในระดับ “เป็นประจำ” เมื่อพิจารณารายด้านจะเห็นได้ว่าข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมีการปฏิบัติตนด้านมีวินัยสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านถือหลักพอเพียง ส่วนด้านที่มีระดับการปฏิบัติค่อนข้างน้อยเมื่อพิจารณาเทียบกับด้านอื่น ๆ คือ ด้านสามัคคี มีระดับการปฏิบัติตนอยู่ในระดับมาก
4. พัฒนาการของระดับการปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กรของข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เปรียบเทียบระหว่าง พ.ศ. 2562 กับ พ.ศ. 2567 พบว่าข้าราชการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมีการปฏิบัติตนอยู่ในระดับ “เป็นประจำ” ทั้ง 2 ปีงบประมาณ เมื่อพิจารณาถึงพัฒนาการของระดับการปฏิบัติเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีระดับการปฏิบัติตน “ลดลงเล็กน้อย” มีจำนวน 3 ด้าน คือ จิตบริการ ใจสัตย์ซื่อ สมานสามัคคี (ตามลำดับ) ทั้งนี้ ในการศึกษาลำดับถัดไปผู้ศึกษาจะได้ทำการศึกษาเพื่อหาแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการปฏิบัติตนของข้าราชการตามค่านิยมองค์กรของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยมุ่งเน้นศึกษาวิธีการพัฒนา 3 ด้านข้างต้นต่อไป
5. แนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กร พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมากทุกด้านกับแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาที่ผู้ศึกษาเสนอไป
ประกอบด้วย (1) การศึกษาดูงานหน่วยงานที่ประสบความสำเร็จเรื่องการรณรงค์ส่งเสริม (2) การจัดทำป้ายรณรงค์หรือเชิญชวน (3) การอบรม/สัมมนา ส่วนด้านที่มีระดับความเห็นด้วยไม่มากนัก คือการจัดประกวดแข่งขันการปฏิบัติตามค่านิยมองค์กรระหว่างหน่วยงานภายใน
ปก
บทคัดย่อ
บทคัดย่อในรูปแบบอินโฟกราฟิกส์ (Abstract Infographics)
คำนำ
สารบัญ
สารบัญตาราง
สารบัญภาพ
บทที่ 1 บทนำ
-1.1 ภูมิหลัง
-1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา
-1.3 ขอบเขตของการศึกษา
-1.4 ระเบียบวิธีที่ใช้ในการศึกษา
-1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
-1.6 นิยามศัพท์เฉพาะ
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
-2.1 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรม
-2.2 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับค่านิยมองค์กร
-2.3 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
-2.4. งานวิจัยในประเทศและต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 ระเบียบวิธีการศึกษา
-3.1 วิธีการศึกษาและการเก็บรวบรวมข้อมูล
-3.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
-ตาราง 1 จำนวนประชาการและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ (จำแนกตามหน่วยงาน)
-3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
-ตาราง 2 การแปลความหมายคะแนนเฉลี่ยรายข้อของแบบสอบถาม
-ภาพ 1 วิธีการพัฒนาและการตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถาม
-3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
บทที่ 4 ผลการศึกษา
-4.1 สัญลักษณ์และอักษรย่อที่ใช้ในการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล
-4.2 การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
-ตาราง 3 ข้อมูลส่วนบุคคลของข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง: กรณีที่ข้อมูลส่วนบุคคลอยู่ในมาตราอันตรภาคหรือมาตราอัตราส่วน (Interval Scale - Ratio Scale)
-4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
-ตาราง 4 ข้อมูลส่วนบุคคลของข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง : กรณีที่ข้อมูลส่วนบุคคลอยู่ในมาตราเรียงอันดับ (Ordinal Scale)
-ตาราง 5 ระดับการปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กรร่วมของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
-ตาราง 6 ระดับการปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กรร่วมของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา (จำแนกรายข้อคำถาม)
-ภาพ 2 กราฟแสดงระดับการปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กรร่วมของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
-ตาราง 7 ระดับการปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กรของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
-ภาพ 3 กราฟแสดงระดับการปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กรของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
-ตาราง 8 ระดับการปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กรของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จำแนกรายข้อคำถาม
-ตาราง 9 พัฒนาการของระดับการปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กรของข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เปรียบเทียบระหว่าง พ.ศ. 2562 กับ พ.ศ. 2567
-ตาราง 10 แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการประพฤติปฏิบัติตนให้สอดรับกับค่านิยมองค์กร
-ภาพ 4 กราฟแสดงพัฒนาการของระดับการปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กรของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เปรียบเทียบระหว่าง พ.ศ. 2562 กับ พ.ศ. 2567
-ตาราง 11 ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กร
บทที่ 5 สรุปผลการศึกษา อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
-5.1 สรุปผลการศึกษา
-5.2 อภิปรายผล
-5.3 ข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
-ภาคผนวก ก ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย
-ภาคผนวก ข ผลการหาค่าความเที่ยงตรงเชิงพินิจของแบบสอบถาม (IOC)
-ตาราง 12 ค่าความเที่ยงตรงเชิงพินิจ (IOC) ของข้อคำถามที่ใช้ในการวัดการปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กร ของข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
-ภาคผนวก ค หนังสือขอเก็บข้อมูลการศึกษา
-ภาคผนวก ง แบบสอบถาม
-ภาคผนวก จ ประวัติผู้ศึกษา
2567-10
ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคภูมิใจไทย
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, 2567-10-10)
2567-10-10
ประกาศคณะกรรมการอำนวยการคัดเลือกข้าราชการรัฐสภา เป็นข้าราชการรัฐสภาผู้มีคุณธรรมและจริยธรรมดีเด่นของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ผลการคัดเลือกข้าราชการรัฐสภาผู้มีคุณธรรมและจริยธรรมดีเด่นของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
คณะกรรมการอำนวยการคัดเลือกข้าราชการรัฐสภา เป็นข้าราชการรัฐสภาผู้มีคุณธรรมและจริยธรรมดีเด่น ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร; สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2567-07-26)
2567-07-26
ประกาศคณะกรรมการอำนวยการเลือกข้าราชการรัฐสภาเป็นกรรมการจริยธรรมข้าราชการ เรื่อง รายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการจริยธรรมข้าราชการรัฐสภา
กรรมการอำนวยการเลือกข้าราชการรัฐสภาเป็นกรรมการจริยธรรมข้าราชการรัฐสภา; สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2567-06-11)
2567-06-11
ประกาศคณะกรรมการอำนวยการเลือกข้าราชการรัฐสภาเป็นกรรมการจริยธรรมข้าราชการ เรื่อง ผลการนับคะแนนเลือกกรรมการจริยธรรมข้าราชการรัฐสภา
กรรมการอำนวยการเลือกข้าราชการรัฐสภาเป็นกรรมการจริยธรรมข้าราชการรัฐสภา; สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2567-06-11)
2567-06-11