เขมร กัมพูชา ขอม สามชื่อเรียกชาวกัมพูชาและประเทศกัมพูชาในเอกสารประวัติศาสตร์ไทย
11
3
ประเภททรัพยากร
จำนวนหน้า/ขนาด
1
หน่วยงานที่เผยแพร่
วันที่เผยแพร่
2568-05-17
สิทธิ์ในการเข้าถึง
เจ้าของสิทธิ์
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ข้อมูลอ้างอิง
ใหม่ มูลโสม, ผู้จัดทำ, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักวิชาการ กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ เขมร กัมพูชา ขอม สามชื่อเรียกชาวกัมพูชาและประเทศกัมพูชาในเอกสารประวัติศาสตร์ไทย. Retrieved from: https://hdl.handle.net/20.500.14156/2006582.
รายละเอียด
- คำว่า "เขมร" "กัมพูชา" และ "ขอม" ทั้งสามคำนี้ เป็นคำที่เอกสารประวัติศาสตร์ไทยใช้ในการกล่าวถึงชาวกัมพูชาและประเทศกัมพูชามาตั้งแต่โบราณ ข้อมูลมาจากตอบประเด็นปัญหาทางประวัติศาสตร์ "เขมร" "ก้มพูชา" และ "ขอม" ในหลักฐานเขมร โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ศานติ ภักดีคำ ตีพิมพ์ในหนังสือ "แถลงงานคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย 2564" ที่กรมศิลปากรพิมพ์เผยแพร่เมื่อปี 2565 (https://www.finearts.go.th/main/view/32490)
บทสรุป ดร.ศานติ ภักดีคำ สรุปไว้ดังนี้
- คำว่า "เขมร" ปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกสมัยก่อนเมืองพระนคร ตั้งแต่พทธศตวรรษที่ 12 แต่คำว่าว่า "เขมร" ที่พบการใช้ในแต่ละสมัยมีวิวัฒนาการด้านเสียงและลักษณะรูปแบบอักขรวิธีในการเชียนที่แตกต่างกันบ้าง
- คำว่า "กัมพูชา" มีที่มาจากที่ปรากฏในจารึกเขมรโบราณโดยเฉพาะจารึกบ่ออีกาและจารึกปราสาทปักษีจำกรงว่า "กัมพุ (กมว)" และปรากฎในจารึกปราสาทบันทายฉมาร์ว่า "กัมพุช (กมวุช)" ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "กัมพูชา (กมพุชา ออกเสียงว่า กัมปูเจีย)" ที่ใช้ในปัจจุบัน
- คำว่า "ขอม" เป็นคำที่สันนิษษฐานว่ามีที่มาจากคำว่า "กโรม" ในจารีกเขมรโบราณหมายความว่า "ข้างใต้" ต่อมาเมื่อนำมาใช้ในภาษาไทยได้กลายเสียงเป็นคำว่า "ขอม" โดยที่ ความหมายได้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและเอกสารที่มีการบันทึก และมีการนำมาใช้ใน ความหมายว่า "เขมร" ตั้งแต่สมัยยุธยาเป็นต้นมาจนถึงสมัยรัตนโกลินทร์"