2.05.01 รายงานการศึกษา/วิจัย โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
URI แบบถาวรของกลุ่มข้อมูลนี้
เรียกดู
รายการที่เพิ่มล่าสุด
รายการข้อมูล เปิดให้เข้าถึงได้ รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการพัฒนาความเป็นมืออาชีพของผู้ช่วยดำเนินงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรณัชชานุ พุ่มทอง; สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2566-07)การวิจัยเรื่องแนวทางการพัฒนาความเป็นมืออาชีพของผู้ช่วยดำเนินงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ เพื่อศึกษา 1) บริบท สภาพการปฏิบัติงานปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน และขอบเขตในการดำเนินงานตามสภาพความเป็นจริงของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และผู้ช่วยดำเนินงานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2) ความคิดเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาความเป็นมืออาชีพของผู้ช่วยดำเนินงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ 3) เพื่อสร้างโปรแกรมการเรียนรู้หรือตัวแบบเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานและหาแนวทางการพัฒนาความเป็นมืออาชีพของผู้ช่วยดำเนินงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย (1) การวิเคราะห์เอกสาร โดยรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง (2) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In–depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ 1) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2) ผู้ช่วยดำเนินงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ 3) นักวิชาการและผู้เกี่ยวข้อง เช่น ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ดำเนินการจัดหลักสูตรการพัฒนาผู้ช่วยดำเนินงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรวิทยากร เป็นต้น โดยเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ผลการศึกษาพบว่า 1. บริบท และสภาพการปฏิบัติงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และผู้ช่วยดำเนินงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การปฏิบัติงานภาคสนามหรือการปฏิบัติงานเชิงพื้นที่ และการปฏิบัติงานเชิงวิชาการ ส่วนปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของผู้ช่วยดำเนินงานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่ 1) ความด้อยศักยภาพและความสามารถในการปฏิบัติงาน 2) ค่าตอบแทนต่ำและไม่มีผลประโยชน์อื่นใด 3) หน้าที่ความรับผิดชอบและขอบเขตในการดำเนินงานกว้างขวางและไม่ระบุชัดเจน และ 4) ไม่มีการประเมินผลการดำเนินงานของผู้ช่วยดำเนินงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2. แนวทางในการพัฒนาความเป็นมืออาชีพของผู้ช่วยดำเนินงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่ 1) การฝึกฝนและเรียนรู้ระหว่างปฏิบัติงาน 2) การคัดเลือกโดย ส.ส. ให้ตรงตามลักษณะของงานที่จะมอบหมาย 3) การเข้าศึกษาอบรมเพื่อให้ได้รับความรู้และพัฒนาทักษะที่จำเป็น และ 4) การสร้างมาตรฐานในต่ำแหน่งผู้ช่วยดำเนินงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3. โปรแกรมการศึกษาอบรมเพื่อพัฒนาความเป็นมืออาชีพของผู้ช่วยดำเนินงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยพัฒนาจากหลักสูตรของสถาบันพระปกเกล้าบางส่วน พิจารณาร่วมกับความต้องการของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ข้อเสนอแนะจากผู้ช่วยดำเนินงานฯ และข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ แบ่งเป็น 6 หมวดวิชา จำนวน 100 ชั่วโมง และเพิ่มเกณฑ์ในระเบียบเกี่ยวกับระยะเวลา อย่างน้อย 2 ปี ในการดำรงตาแหน่ง เพื่อใช้ประโยชน์จากผู้ที่จะมาดำรงต่ำแหน่งอย่างแท้จริง รวมไปถึงเพื่อการพัฒนาเส้นทางอาชีพ (Career Path) 4. ข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาระบบผู้ช่วยดำเนินงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้มีความเป็นมืออาชีพ ได้แก่ 1) กำหนดแนวทางในการแต่งตั้งผู้ช่วยดำเนินงานฯ เป็น 2 ประเภท คือ ฝ่ายวิชาการและฝ่ายปฏิบัติงาน 2) ปรับปรุงระบบและระเบียบการจ้างผู้ช่วยดำเนินงานฯ โดย ส.ส. ต้องกำหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของงานและมีการประเมินผลเป็นรายบุคคลเพื่อแจ้งต่อสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 3) ส่งเสริมให้ ส.ส. แต่งตั้งผู้ช่วยดำเนินงานฯ อย่างน้อย 1 คน ทำหน้าที่ศึกษาวิจัยปัญหาในพื้นที่ 4) พิจารณาถึงความจำเป็นของการมีผู้ปฏิบัติงานประจำตัวสมาชิกรัฐสภาแต่ละประเภทอย่างเหมาะสม 5) ควรพิจารณาถึงประสิทธิภาพโดยอาจให้งบประมาณแก่ ส.ส. ในการบริหารจัดการงานหรือสำนักงานของตนเองปก คำนำ บทสรุปเชิงนโยบาย บทสรุปผู้บริหาร บทคัดย่อ Abstract สารบัญ บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 1.2 วัตถุประสงค์ 1.3 ขอบเขตการวิจัย 1.4 นิยามศัพท์ 1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรมและกรอบแนวคิดทฤษฎี 2.1 การทบทวนวรรณกรรม 2.2 กรอบแนวคิดทฤษฎี 2.3 กรอบแนวคิดการวิจัย บทที่ 3 ระเบียบวิธีการวิจัย 3.1 แนวทางและวิธีการวิจัย 3.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 3.3 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 3.4 แนวความคิดการวิเคราะห์ข้อมูล 3.5 ข้อจำกัดในการวิจัย บทที่ 4 ผลการวิจัย 4.1 สภาพการปฏิบัติงาน ขอบเขตในการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และผู้ช่วยดำเนินงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 4.2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาความเป็นมืออาชีพของผู้ช่วยดำเนินงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 4.3 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโปรแกรมการเรียนรู้และการจัดการศึกษาอบรม บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ 5.1 สรุป และอภิปรายผล 5.2 ข้อเสนอแนะ บรรณานุกรม ภาคผนวก ภาคผนวก ก ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งบุคคลเพื่อปฏิบัติงานให้แก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ภาคผนวก ข การรับสมัครผู้ช่วยดำเนินงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ภาคผนวก ค แนวคำถามในการสัมภาษณ์ สารบัญภาพ ภาพที่ 2.1 กรอบแนวคิดการวิจัย ประวัติผู้วิจัย2566-07รายการข้อมูล เปิดให้เข้าถึงได้ รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การศึกษาสภาพปัญหาด้านคุณภาพการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรสนับสนุนการทำหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาสิริกร นามลาบุตร; ชนิดา เพชรทองคำ; สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2563)การศึกษาสภาพปัญหาด้านคุณภาพการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรสนับสนุนการทำหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัญหาด้านคุณภาพการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรสนับสนุนการทำหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา 2) แนวทางการพัฒนาและให้ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาด้านคุณภาพการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรสนับสนุนการทำหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา การศึกษาวิจัย ครั้งนี้ มีการดำเนินงานด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสารวจความพึงพอใจของสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา โดยวิธีการเลือกสำนักงานแบบเจาะจงที่มีความสอดคล้องกับประเด็นการวิจัย ผู้ให้ข้อมูลหลักได้มาด้วยการเลือกแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น ซึ่งใช้วิธีตามความสะดวกที่เป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา และผู้ให้ข้อมูลหลักในการสัมภาษณ์ด้านความพึงพอใจที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา รวมผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งสิ้น 94 คน ผลของการศึกษา พบว่าการปฏิบัติหน้าที่มีสองลักษณะ คือ การปฏิบัติงานด้านวิชาการและการปฏิบัติงานด้านสารบรรณและธุรการทั่วไปของสำนัก การปฏิบัติงานด้านวิชาการ เช่น การศึกษาวิเคราะห์ รวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และข้อเสนอแนะด้านวิชาการและกฎหมาย การค้นคว้าและจัดทำเอกสารทางวิชาการ เปรียบเทียบกฎหมาย เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) และการประชุมพิจารณาเกี่ยวกับ ญัตติ กระทู้ถาม และการรวบรวมและจัดทำรายงานการประชุมของแต่ละสภา เป็นต้น ส่วนการปฏิบัติงานด้านสารบรรณและธุรการทั่วไปของสำนัก เช่น ฝ่ายเลขานุการในที่ประชุมพิจารณาสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา การจัดทำหนังสือเชิญประชุม การจัดทำหนังสือเชิญประชุมชี้แจง การจัดทำหนังสือแต่งตั้งที่ปรึกษา การนัดประชุมและการจัดทำระเบียบวาระการประชุมการแสดงผลการลงมติ การจัดทำและแสดงผลการออกเสียงของที่ประชุมสภา เป็นต้น สำหรับสภาพปัญหา คือ การศึกษา ค้นคว้า รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลวิชาการและกฎหมาย การจัดเตรียมปฏิบัติงานวิชาการและกฎหมาย ในแต่ละช่วงเวลาก่อนการปฏิบัติหน้าที่ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่และหลังการปฏิบัติหน้าที่ การรวบรวมองค์ความรู้ในการปฏิบัติหน้าที่จำเป็นต้องนำไปใช้ การปฏิบัติงานด้านวิชาการและกฎหมายมีข้อจำกัด ในด้านทักษะดิจิทัล และด้านภาษาต่างประเทศ การปรับปรุงการทำงานร่วมกัน ระหว่างกลุ่มงาน ระหว่างสำนัก และระหว่างหน่วยงานภายนอก ดังนั้น การเพิ่มด้านคุณภาพการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรสนับสนุนการทำหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาที่เป็นแนวทางการพัฒนาและข้อเสนอแนะ เพื่อให้บุคลากรมีศักยภาพในการปฏิบัติหน้าที่สนับสนุนการทำหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ผู้บริหารควรมีการส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ เข้ารับการอบรมและศึกษาต่อตามพันธกิจในแต่ละด้านที่สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละสำนัก โดยเฉพาะด้านภาษาต่างประเทศ ด้านทักษะดิจิทัล กฎหมายเฉพาะทาง เช่น กฎหมายสิ่งแวดล้อม กฎหมายธุรกิจการเงิน (โดยเฉพาะ Bitcoin) กฎหมาย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ กฎหมายภาษี กฎหมายมหาชน เป็นต้นปกหน้า คำนำ กิตติกรรมประกาศ บทสรุปสำหรับผู้บริหาร บทสรุปเชิงนโยบาย บทคัดย่อภาษาไทย บทคัดย่อภาษาอังกฤษ สารบัญ บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.3 ขอบเขตของการวิจัย 1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรมและกรอบแนวคิดทฤษฎี 2.1 การทบทวนวรรณกรรม 2.2 กรอบแนวคิดทฤษฎี (Theoretical Framework) 2.3 กรอบแนวคิดการวิจัย (Conceptual Framwork) บทที่ 3 ระเบียบวิธีการวิจัย 3.1 แนวทางและวิธีการวิจัย 3.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 3.3 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล บทที่ 4 ผลการวิจัย 4.1 สภาพปัญหาด้านคุณภาพการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรสนับสนุนการทำหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา 4.2 แนวทางการพัฒนาและให้ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาด้านคุณภาพการปฏิบัติหน้าที่ของ บุคลากรสนับสนุนการทำหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผลการวิจัย 5.2 อภิปรายผล 5.3 ข้อเสนอแนะ บรรณานุกรม ภาคผนวก สารบัญตาราง ตารางที่ 1 ตัวชี้วัดเพื่อประเมินคุณภาพการปฏิบัติหน้าที่ข้อที่ 1 ตารางที่ 2 ตัวชี้วัดเพื่อประเมินคุณภาพการปฏิบัติหน้าที่ข้อที่ 2 ตาราง 3 ตัวชี้วัดประสิทธิภาพการศึกษา ค้นคว้า รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลวิชาการและกฎหมาย ตาราง 4 ตัวชี้วัดประสิทธิภาพการจัดเตรียมปฏิบัติงานวิชาการและกฎหมาย (ก่อนการปฏิบัติหน้าที่ ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ หลังการปฏิบัติ) ตาราง 5 ตัวชี้วัดประสิทธิภาพการรวบรวมองค์ความรู้ในการปฏิบัติหน้าที่จำเป็นต้องใช้ ตาราง 6 ตัวชี้วัดประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านวิชาการและกฎหมายมีข้อจำกัด (ด้านทักษะดิจิทัล ด้านภาษาต่างประเทศ) ตาราง 7 ตัวชี้วัดประสิทธิภาพการปรับปรุงการทำงานร่วมกัน (ระหว่างกลุ่มงาน ระหว่างสำนัก ระหว่างหน่วยงานภายนอก) ตารางที่ 8 จำนวนและร้อยละของกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ตารางที่ 9 จำนวนและร้อยละบุคลากรสนับสนุนในการใช้เทคโนโลยี ตารางที่ 10 จำนวนและร้อยละบุคลากรสนับสนุนในการจัดทำร่างญัตติ, รายงาน ตารางที่ 11 จำนวนและร้อยละบุคลากรสนับสนุนมีความรู้ความสามารถทักษะและประสบการณ์ ตารางที่ 12 จำนวนและร้อยละบุคลากรสนับสนุนในการบริการการศึกษาค้นคว้ารวบรวม วิเคราะห์ ทำเล่ม ตารางที่ 13 จำนวนและร้อยละบุคลากรสนับสนุนในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ตารางที่ 14 จำนวนและร้อยละการให้บริการสื่อ การบริการทำคลิป การบริการคลิปการพูด หรือ VCD ตารางที่ 15 จำนวนและร้อยละฐานข้อมูล (Big Data) เพื่อทำการสืบค้นได้ง่ายและรวดเร็ว ตารางที่ 16 จำนวนและร้อยละแหล่งข้อมูลปฐมภูมิช่วยค้นหาข้อมูล ตารางที่ 17 จำนวนและร้อยละการใช้บริการเว็บไซต์ ตารางที่ 18 จำนวนและร้อยละการเสริมสร้างและพัฒนาข้อมูลเพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลนิติบัญญัติ สารบัญภาพ ภาพที่ 1 สภาพปัญหาด้านคุณภาพการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรสนับสนุนการทำหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา ภาพที่ 2 กรอบแนวคิดการวิจัย ภาพที่ 3 จำนวนและร้อยละของกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ภาพที่ 4 จำนวนและร้อยละบุคลากรสนับสนุนในการใช้เทคโนโลยี ภาพที่ 5 จำนวนและร้อยละบุคลากรสนับสนุนในการจัดทำร่างญัตติ,รายงาน ภาพที่ 6 จำนวนและร้อยละบุคลากรสนับสนุนมีความรู้ความสามารถทักษะและประสบการณ์ ภาพที่ 7 จำนวนและร้อยละบุคลากรสนับสนุนในการบริการการศึกษาค้นคว้า รวบรวม วิเคราะห์ทำเล่ม ภาพที่ 8 จำนวนและร้อยละบุคลากรสนับสนุนในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ภาพที่ 9 จำนวนและร้อยละการให้บริการสื่อ การบริการทำคลิป การบริการคลิปการพูด หรือ VCD ภาพที่ 10 จำนวนและร้อยละฐานข้อมูล (Big Data) เพื่อทำการสืบค้นได้ง่ายและรวดเร็ว ภาพที่ 11 จำนวนและร้อยละแหล่งข้อมูลปฐมภูมิช่วยค้นหาข้อมูล ภาพที่ 12 จำนวนและร้อยละการใช้บริการเว็บไซต์ ภาพที่ 13 จำนวนและร้อยละการเสริมสร้างและพัฒนาข้อมูล เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลนิติบัญญัติ ประวัติผู้วิจัย2563รายการข้อมูล เปิดให้เข้าถึงได้ รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การทำหน้าที่ของวุฒิสภาในการตรวจสอบถ่วงดุล: กรณีศึกษาการตั้งกระทู้ธนาชัย สุนทรอนันตชัย; ปกรณ์ ปาลวงษ์พาณิช; กษมา สุขนิวัฒน์ชัย; ทวนชัย โชติช่วง (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2566)การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษาแนวคิดและเจตนารมณ์ของการตั้งกระทู้ถามตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาการทำหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภาตามบทเฉพาะกาล มาตรา 269 ของรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบันในการตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหารโดยการตั้งกระทู้ถาม สาเหตุให้การตั้งกระทู้ถามไม่สามารถถ่วงดุลอำนาจของฝ่ายบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผลที่เกิดขึ้นจากการตั้งกระทู้ถามต่อการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหาร ตลอดจนเพื่อสร้างข้อเสนอในการแก้ไขปรับปรุงมาตรการทางกฎหมาย และกำหนดแนวทางในการนำเครื่องมือการตั้งกระทู้ถามนั้นไปใช้ในการตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะสมสอดคล้องกับเจตนารมณ์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 โดยคณะผู้วิจัยได้ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพจากการศึกษาวิจัยเอกสาร และการวิจัยภาคสนามผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการศึกษาวิจัยผลการศึกษาวิจัยพบว่า เจตนารมณ์สำคัญของการตั้งกระทู้ถาม เพื่อเป็นเครื่องมือหนึ่งในการถ่วงดุลการใช้อำนาจระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร นอกจากนั้น ยังได้พบปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการกำหนดประเด็นในการตั้งกระทู้ถามของสมาชิกวุฒิสภา วิธีการหรือกระบวนการกำหนดประเด็นในการตั้งกระทู้ถามของสมาชิกวุฒิสภา และความมีอิสระของสมาชิกวุฒิสภาที่ส่งผลต่อการกำหนดประเด็นในการตั้งกระทู้ถาม รวมทั้งการศึกษาถึงสาเหตุที่ส่งผลให้การตั้งกระทู้ถามไม่สามารถถ่วงดุลอำนาจของฝ่ายบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งสาเหตุที่มาจากสมาชิกวุฒิสภาในฐานะผู้ตั้งกระทู้ถาม และสาเหตุจากฝ่ายบริหารในฐานะผู้ตอบกระทู้ถาม ตลอดจนผลที่เกิดขึ้นจากการตั้งกระทู้ถามต่อการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหาร คณะผู้วิจัยได้มีข้อเสนอแนะต่อแนวทางการนำเครื่องมือการตั้งกระทู้ถามไปใช้ในการตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหาร ทั้งข้อเสนอแนะต่อมาตรการทางกฎหมาย และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางต่าง ๆ เพื่อให้การตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะสมสอดคล้องกับเจตนารมณ์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อไปปก คำนำ บทสรุปเชิงนโยบาย Policy Brief บทสรุปสำหรับผู้บริหาร Executive Summary บทคัดย่อ Abstract สารบัญ สารบัญตาราง สารบัญภาพ บทที่ 1บทนำ -1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา -1.2 วัตถุประสงค์การวิจัย -1.3 ขอบเขตของการวิจัย -1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรมและกรอบแนวคิดทฤษฎี -2.1 การทบทวนวรรณกรรม --2.1.1 แนวคิดอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน --2.1.2 หลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจอธิปไตย --2.1.3 ระบบและโครงสร้างของรัฐสภา --2.1.4 วิธีการได้มา บทบาทหน้าที่ และอำนาจของวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย --2.1.5 การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของวุฒิสภาโดยการตั้งกระทู้ถาม --2.1.6 กรณีศึกษาของต่างประเทศที่เกี่ยวกับการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของวุฒิสภา โดยการตั้งกระทู้ถาม ---2.1.6.1 ประเทศอังกฤษ ---2.1.6.2 ประเทศออสเตรเลีย -ตาราง 1 เปรียบเทียบการตั้งกระทู้ถามของสมาชิกวุฒิสภาประเทศอังกฤษ และประเทศออสเตรเลีย --2.1.7 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง -2.2 กรอบแนวคิดทฤษฎี -ภาพ 1 กรอบแนวคิดทฤษฎี -2.3 กรอบแนวคิดการวิจัย -ภาพ 2 กรอบแนวคิดการวิจัย บทที่ 3 ระเบียบวิธีการวิจัย -3.1 แนวทางและวิธีการวิจัย -3.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง -3.3 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล -3.4 แนวความคิดในการวิเคราะห์ข้อมูล บทที่ 4 ผลการวิจัย -4.1 ผลการศึกษาแนวคิดและเจตนารมณ์ของการตั้งกระทู้ถามตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง -4.2 ผลศึกษาการทำหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภาตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบันในการตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหารโดยการตั้งกระทู้ถาม สาเหตุให้การตั้งกระทู้ถามไม่สามารถถ่วงดุลอำนาจของฝ่ายบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผลที่เกิดขึ้นจากการตั้งกระทู้ถามต่อการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหาร -ตาราง 2 สรุปจำนวนกระทู้ถามต่อสมัยประชุม จำแนกตามประเภทของกระทู้ถาม ผู้ตอบกระทู้ถาม แหล่งที่ตอบกระทู้ถาม และกระทู้ที่ตกไปหรือขอถอน -ตาราง 3 สรุปจำนวนกระทู้ถามต่อสมัยประชุม โดยพิจารณาเกี่ยวกับผลการติดตามการดำเนินการตามกระทู้ถาม -ตาราง 4 รายชื่อสมาชิกวุฒิสภาชุดปัจจุบันที่มีการตั้งกระทู้ถามเรียงลำดับตามจำนวนกระทู้ถามที่ตั้ง -ตาราง 5 ประเด็นคำถามที่ตั้งกระทู้ถามมากที่สุดเรียงลำดับตามประเด็นคำถามที่ตั้งกระทู้ถาม -4.3 ผลการสังเคราะห์ข้อเสนอในการแก้ไขปรับปรุงมาตรการทางกฎหมาย และกำหนดแนวทางในการนำเครื่องมือการตั้งกระทู้ถามนั้นไปใช้ในการตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะสมสอดคล้องกับเจตนารมณ์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ -5.1 สรุปผลการศึกษาวิจัย -5.2 อภิปรายผล -5.3 ข้อเสนอแนะ บรรณานุกรม ภาคผนวก -ภาคผนวก ก. แนวคำถามสำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึก -ภาคผนวก ข. ตารางสรุปประเด็นของกระทู้ถามจำแนกตามรายชื่อของสมาชิกวุฒิสภาที่มีตั้งกระทู้ถาม ประวัติคณะผู้วิจัย ปกหลัง2566รายการข้อมูล เปิดให้เข้าถึงได้ รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง คุณลักษณะเฉพาะของผู้ปฏิบัติหน้าที่ติดตามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสู่การปฏิบัติงานที่เป็นเลิศศรุดา สมพอง (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2563)ปก กิตติกรรมประกาศ บทสรุปเชิงนโยบาย บทสรุปสำหรับผู้บริหาร บทคัดย่อ สารบัญ สารบัญตาราง สารบัญภาพ บทที่ 1 บทนำ -1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา -1.2 คำถามการวิจัย -1.3 วัตถุประสงค์ของการวิจัย -1.4 ขอบเขตของการวิจัย -1.5 ข้อจำกัดในการวิจัย -1.6 นิยามศัพท์ -1.7 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรมและกรอบแนวคิดทฤษฎี -2.1 การทบทวนวรรณกรรม --2.1.1 บทบาทหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและผู้ปฏิบัติหน้าที่ติดตามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร -2.2 กรอบแนวคิดทฤษฎี --2.2.1 ทฤษฎีภาวะผู้นำ (Leaderships Theory) --2.2.2 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการฝึกอบรม --2.2.3 แนวคิดการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (Management towards Excellence) --2.2.4 แนวคิดการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management: NPM) --2.2.5 แนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ (New Public Service: NPS) --2.2.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ -2.3 กรอบแนวคิดการวิจัย -ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดการวิจัย บทที่ 3 ระเบียบวิธีการวิจัย -3.1 แนวทางและวิธีการวิจัย -3.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง -3.3 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล -3.4 แนวความคิดในการวิเคราะห์ข้อมูล -ตารางที่ 1 ประเด็นวิเคราะห์และวิธีการศึกษาตามวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัย บทที่ 4 ผลการวิจัย -4.1 สภาพการดำเนินงานและบทบาทผู้ปฏิบัติหน้าที่ติดตามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร -4.2 ความแตกต่างของผู้ปฏิบัติหน้าที่ติดตามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่ พ.ศ. 2554–2563 -ตารางที่ 2 เปรียบเทียบระหว่างความแตกต่างของผู้ปฏิบัติหน้าที่ติดตามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่ พ.ศ. 2554-2563 -4.3 ฐานข้อมูลในการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของผู้ปฏิบัติหน้าที่ติดตาม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นเลิศ -4.4 การวิเคราะห์ข้อมูล บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ -5.1 สรุปผลการวิจัย -ตารางที่ 3 ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างผู้ปฏิบัติหน้าที่ติดตามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในอดีตกับปัจจุบัน -5.2 อภิปรายผลการวิจัย -ตารางที่ 4 เปรียบเทียบความเหมือน/ความแตกต่างในการปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบของ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ติดตามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร -5.3 ข้อเสนอแนะจากนักวิชาการ -5.4 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย -5.5 ข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการ -5.6 ข้อเสนอแนะสำหรับงานวิจัยในครั้งต่อไป บรรณานุกรม ภาคผนวก -ภาคผนวก ก กระเบียบ/ประกาศรัฐสภา -ภาคผนวก ข ข้อมูลความคิดเห็นของจากการสัมภาษณ์ แบบเจาะลึก (In depth Interview) และสนทนากลุ่ม (Focus Groups) -ภาคผนวก ค ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) และภาพการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม ประวัติผู้วิจัย2563รายการข้อมูล เปิดให้เข้าถึงได้ รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือก พลังงานทดแทนและพลังงานหมุนเวียนปวริศร เลิศธรรมเทวี; อัจฉรา ชินนิยมพาณิชย์ (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2560)ปกหน้า คำนำ สารบัญ บทสรุปสำหรับผู้บริหาร Executive Summary สารบัญแผนภูมิ สารบัญตาราง บทที่ 1 บทนำ -1.1 ที่มาและความสำคัญของการวิจัย -1.2 วัตถุประสงค์การวิจัย -1.3 ขอบเขตการศึกษา -1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ -1.5 โครงสร้างรายงานวิจัย บทที่ 2 การพัฒนาอย่างยั่งยืนด้านพลังงาน -2.1 แนวคิดเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) -2.2 แนวคิดเรื่องพลังงานที่ยั่งยืน --2.2.1 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้านพลังงาน --2.2.2 การตอบสนองต่อความท้าทายด้านพลังงาน 3 ด้าน (Energy Trilemma) -2.3 แนวคิดเรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อม --2.3.1 หลักการพื้นฐานของกฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ --2.3.2 สิทธิขั้นพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมที่รับรองในกฎหมายระหว่างประเทศ --3.3.3 ประชาคมอาเซียน กับแนวคิดเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน บทที่ 4 การส่งเสริมพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทนและพลังงานหมุนเวียนของประเทศสมาชิกอาเซียน -4.1 การส่งเสริมพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียนของอาเซียน -4.2 สถานการณ์ปัจจุบันด้านพลังงานของประเทศสมาชิกอาเซียน --4.2.1 พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล -แผนภูมิที่ 1 อุปสงค์พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างปี พ.ศ. 2533-2583 -แผนภูมิที่ 2 อุปสงค์พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างปี พ.ศ. 2533-2583 (แยกประเภท) -แผนภูมิที่ 3-4 เปรียบเทียบสัดส่วนการใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลผลิตไฟฟ้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างปี พ.ศ. 2566 และ 2583 -แผนภูมิที่ 5 ข้อมูลแหล่งพลังงานน้ำมันดิบของประเทศสมาชิกอาเซียน พ.ศ. 2557-2558 -แผนภูมืที่ 6 ข้อมูลก๊าซธรรมชาติของประเทศสมาชิกอาเซียน พ.ศ. 2557-2558 --4.2.2 พลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน -แผนภูมิที่ 7 สัดส่วนปริมาณการผลิตและปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติของประเทศสมาชิกอาเซียน -แผนภูมิที่ 8 ภาพรวมแหล่งพลังงานหมุนเวียนของประเทศสมาชิกอาเซียน -แผนภูมิที่ 9-10 ปริมาณการผลิตพลังงานจากชีวมวลและปริมาณการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลของประเทศสมาชิกอาเซียน พ.ศ. 2556 -แผนภูมิที่ 11 การใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงชีวภาพและวัสดุเหลือใช้ของประเทศสมาชิกอาเซียน ระหว่างปี พ.ศ. 2554-2557 -แผนภูมิที่ 12 ศักยภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์/แผงโซลาร์ของประเทศสมาชิกอาเซียน ปี พ.ศ. 2558 -4.3 แนวนโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนของประเทศสมาชิกอาเซียน --4.3.1 เนการาบรูไนดารุสซาลาม --4.3.2 ราชอาณาจักรกัมพูชา --4.3.3 สาธารณรัฐอินโดนีเซีย --4.3.4 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว --4.3.5 สหพันธรัฐมาเลเซีย --4.3.6 สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า --4.3.7 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ --4.3.8 สาธารณรัฐสิงคโปร์ --4.3.9 ราชอาณาจักรไทย --4.3.10 สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม -ตารางที่ 1 สรุปแนวนโยบายส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนของประเทศสมาชิกอาเซียน บทที่ 5 การใช้พลังงานทางเลือก พลังงานทดแทนและพลังงานหมุนเวียนของไทย \ -5.1 นิยามความหมาย --5.1.1 พลังงานทางเลือก หรือ พลังงานทดแทน (Alternative Energy) --5.1.2 พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) -5.2 สถานการณ์ปัจจุบันด้านพลังงานของไทย --5.2.1 ภาพรวมของสถานการณ์พลังงานของไทย --5.2.2 ภาพรวมของสถานการณ์พลังงานหมุนเวียนและการใช้พลังงานทดแทนของไทย -5.3 ไทยและเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้านพลังงาน -5.4 ความร่วมมือระหว่างประเทศของไทยในการส่งเสริมและการใช้พลังงานหมุนเวียน --5.4.1 ระดับสากล --5.4.2 ระดับภูมิภาค -5.5 แนวนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง --5.5.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย --5.5.2 คำแถลงนโยบายด้านพลังงานของรัฐบาล --5.3.3 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564 --5.5.4 แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก --5.5.5 กฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy) --5.5.6 กฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการใช้ชีวมวลและพลังงานชีวภาพ (Biomass and Bioenergy) และเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuels) --5.5.7 กฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการใช้พลังงานลม (Wind Energy) -5.6 หน่วยงานที่รับผิดชอบ --5.6.1 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ --5.6.2 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน -5.7 ปัญหาและแนวทางการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนของไทย --5.7.1 เป้าหมายและแนวทางที่ชัดเจนและต่อเนื่อง --5.7.2 ความพร้อมทางด้านกฎหมาย --5.7.3 การบูรณาการและการทำงานร่วมกัน บทที่ 6 บทสรุปและข้อเสนอแนะ -6.1 บทสรุป -6.2 ข้อเสนอแนะ --6.2.1 การพัฒนาอย่างยั่งยืนด้านพลังงาน --6.2.2 พลังงานหมุนเวียนตามแนวนโยบายของอาเซียน --6.2.3 นิยามความหมายที่ชัดเจนของพลังงานหมุนเวียน --6.2.4 เป้าหมายและแนวทางที่ชัดเจนและต่อเนื่อง --6.2.5 จัดเตรียมความพร้อมด้านกฎหมาย --6.2.6 การบูรณาการและการทำงานร่วมกัน -ตารางที่ 2 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างยั่งยืนของไทย บรรณานุกรม ภาคผนวก -ภาคผนวก 1 ประวัติคณะนักวิจัย -ภาคผนวก 2 ร่างพระราชบัญญัติพลังงานทดแทน พ.ศ. .... และบันทึกหลักการและเหตุผลประกอบร่างพระราชบัญญัติพลังงานทดแทน พ.ศ. ....2560รายการข้อมูล เปิดให้เข้าถึงได้ รายงานการศึกษาการพัฒนาห้องสมุดรัฐสภาเพื่อรองรับรัฐสภาใหม่คณะทำงานจัดทำรายงานการศึกษาการพัฒนาห้องสมุดรัฐสภาเพื่อรองรับรัฐสภาใหม่; สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักวิชาการ (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2562-05)ปก คำนำ สารบัญ บทที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของห้องสมุด บทที่ 2 การศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของผู้ใช้บริการ และแนวปฏิบัติของห้องสมุดอื่น บทที่ 3 ห้องสมุดรัฐสภา : ศูนย์ข้อมูลนิติบัญญัติแห่งชาติ บทที่ 4 บทสรุปและข้อเสนอแนะ บรรณานุกรม ภาคผนวก ภาคผนวก ก ข้อมูลอัตรากำลังข้าราชการ กลุ่มงานห้องสมุดและกลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ ภาคผนวก ข คำสั่งสำนักวิชาการ ที่ 1/2562 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำรายงานการศึกษาการพัฒนาห้องสมุดรัฐสภาเพื่อรองรับรัฐสภาใหม่ ภาคผนวก ค คำสั่งสำนักวิชาการ ที่ 6/2562 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำรายงานการศึกษาการพัฒนาห้องสมุดรัฐสภาเพื่อรองรับรัฐสภาใหม่ (เพิ่มเติม)2562-05รายการข้อมูล เปิดให้เข้าถึงได้ การสำรวจระดับการปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กรของข้าราชการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรสิฐสร กระแสร์สุนทร; สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักวิชาการ กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2567-10)การศึกษาเรื่องการสำรวจระดับการปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กรของข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กรทั้งค่านิยมของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและค่านิยมร่วมของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาของข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และศึกษาแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการปฏิบัติตนให้กับข้าราชการในด้านดังกล่าว โดยผู้ศึกษาใช้แบบสอบถามวัดระดับการปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กรในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับข้าราชการจากทุกหน่วยงานในสังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 327 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ที่ตอบแบบสอบถามในครั้งนี้เป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญทั้งประเภทวิชาการและประเภททั่วไป อายุเฉลี่ยประมาณ 45 ปีประสบการณ์ในการทำงานประมาณ 17 ปี มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 49,000 บาท และส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาตรี 2. การปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กรร่วมของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา พบว่าข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมีระดับการปฏิบัติตนโดยรวมอยู่ในระดับ “เป็นประจำ” เมื่อพิจารณารายด้านจะเห็นได้ว่าข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมีการปฏิบัติตนด้านมีวินัยสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านใจซื่อตรงและด้านสามัคคีตามลำดับ 3. การปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กรของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พบว่า ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมีระดับการปฏิบัติตนโดยรวมอยู่ในระดับ “เป็นประจำ” เมื่อพิจารณารายด้านจะเห็นได้ว่าข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมีการปฏิบัติตนด้านมีวินัยสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านถือหลักพอเพียง ส่วนด้านที่มีระดับการปฏิบัติค่อนข้างน้อยเมื่อพิจารณาเทียบกับด้านอื่น ๆ คือ ด้านสามัคคี มีระดับการปฏิบัติตนอยู่ในระดับมาก 4. พัฒนาการของระดับการปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กรของข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เปรียบเทียบระหว่าง พ.ศ. 2562 กับ พ.ศ. 2567 พบว่าข้าราชการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมีการปฏิบัติตนอยู่ในระดับ “เป็นประจำ” ทั้ง 2 ปีงบประมาณ เมื่อพิจารณาถึงพัฒนาการของระดับการปฏิบัติเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีระดับการปฏิบัติตน “ลดลงเล็กน้อย” มีจำนวน 3 ด้าน คือ จิตบริการ ใจสัตย์ซื่อ สมานสามัคคี (ตามลำดับ) ทั้งนี้ ในการศึกษาลำดับถัดไปผู้ศึกษาจะได้ทำการศึกษาเพื่อหาแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการปฏิบัติตนของข้าราชการตามค่านิยมองค์กรของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยมุ่งเน้นศึกษาวิธีการพัฒนา 3 ด้านข้างต้นต่อไป 5. แนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กร พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมากทุกด้านกับแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาที่ผู้ศึกษาเสนอไป ประกอบด้วย (1) การศึกษาดูงานหน่วยงานที่ประสบความสำเร็จเรื่องการรณรงค์ส่งเสริม (2) การจัดทำป้ายรณรงค์หรือเชิญชวน (3) การอบรม/สัมมนา ส่วนด้านที่มีระดับความเห็นด้วยไม่มากนัก คือการจัดประกวดแข่งขันการปฏิบัติตามค่านิยมองค์กรระหว่างหน่วยงานภายในบทคัดย่อในรูปแบบอินโฟกราฟิกส์ (Abstract Infographics) บทที่ 1 บทนำ -1.1 ภูมิหลัง -1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา -1.3 ขอบเขตของการศึกษา -1.4 ระเบียบวิธีที่ใช้ในการศึกษา -1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ -1.6 นิยามศัพท์เฉพาะ บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง -2.1 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรม -2.2 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับค่านิยมองค์กร -2.3 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร -2.4. งานวิจัยในประเทศและต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง บทที่ 3 ระเบียบวิธีการศึกษา -3.1 วิธีการศึกษาและการเก็บรวบรวมข้อมูล -3.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง -ตาราง 1 จำนวนประชาการและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ (จำแนกตามหน่วยงาน) -3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา -ตาราง 2 การแปลความหมายคะแนนเฉลี่ยรายข้อของแบบสอบถาม -ภาพ 1 วิธีการพัฒนาและการตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถาม -3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล บทที่ 4 ผลการศึกษา -4.1 สัญลักษณ์และอักษรย่อที่ใช้ในการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล -4.2 การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล -ตาราง 3 ข้อมูลส่วนบุคคลของข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง: กรณีที่ข้อมูลส่วนบุคคลอยู่ในมาตราอันตรภาคหรือมาตราอัตราส่วน (Interval Scale - Ratio Scale) -4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล -ตาราง 4 ข้อมูลส่วนบุคคลของข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง : กรณีที่ข้อมูลส่วนบุคคลอยู่ในมาตราเรียงอันดับ (Ordinal Scale) -ตาราง 5 ระดับการปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กรร่วมของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา -ตาราง 6 ระดับการปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กรร่วมของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา (จำแนกรายข้อคำถาม) -ภาพ 2 กราฟแสดงระดับการปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กรร่วมของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา -ตาราง 7 ระดับการปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กรของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร -ภาพ 3 กราฟแสดงระดับการปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กรของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร -ตาราง 8 ระดับการปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กรของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จำแนกรายข้อคำถาม -ตาราง 9 พัฒนาการของระดับการปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กรของข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เปรียบเทียบระหว่าง พ.ศ. 2562 กับ พ.ศ. 2567 -ตาราง 10 แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการประพฤติปฏิบัติตนให้สอดรับกับค่านิยมองค์กร -ภาพ 4 กราฟแสดงพัฒนาการของระดับการปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กรของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เปรียบเทียบระหว่าง พ.ศ. 2562 กับ พ.ศ. 2567 -ตาราง 11 ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กร บทที่ 5 สรุปผลการศึกษา อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ -5.1 สรุปผลการศึกษา -5.2 อภิปรายผล -5.3 ข้อเสนอแนะ บรรณานุกรม ภาคผนวก -ภาคผนวก ก ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย -ภาคผนวก ข ผลการหาค่าความเที่ยงตรงเชิงพินิจของแบบสอบถาม (IOC) -ตาราง 12 ค่าความเที่ยงตรงเชิงพินิจ (IOC) ของข้อคำถามที่ใช้ในการวัดการปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กร ของข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร -ภาคผนวก ค หนังสือขอเก็บข้อมูลการศึกษา -ภาคผนวก ง แบบสอบถาม -ภาคผนวก จ ประวัติผู้ศึกษา2567-10รายการข้อมูล เปิดให้เข้าถึงได้ รายงานวิจัย เรื่อง การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นอัญชลี จวงจันทร์; สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักวิชาการ กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา (กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2567-02)ปกหน้า บทคัดย่อ คำนำ สารบัญ สารบัญตาราง บทที่ 1 บทนำ -1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา -1.2 คำถามการวิจัย -1.3 วัตถุประสงค์การวิจัย -1.4 ขอบเขตการวิจัย -1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ -1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีและการทบทวนวรรณกรรม -2.1 แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน --2.1.1 ความหมายของการมีส่วนร่วม --2.1.2 ความหมายของการมีส่วนร่วมของประชาชน -2.2 หลักการ รูปแบบ และวิธีการมีส่วนร่วมของประชาชน --2.2.1 หลักการของการมีส่วนร่วมของประชาชน --2.2.2 รูปแบบของการมีส่วนร่วมของประชาชน -2.3 แนวคิดการกระจายอำนาจส่วนท้องถิ่น -2.4 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น --2.4.1 ความหมายของการปกครองท้องถิ่น --2.4.2 แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนกับการปกครองท้องถิ่น -2.5 การเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น -2.6 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น --2.6.1 ร่างพระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. .... --2.6.2 ข้อบัญญัติท้องถิ่นและกระบวนการตราข้อบัญญัติท้องถิ่น --2.6.3 สถานะของข้อบัญญัติในระบบกฎหมาย --2.6.4 ประเภทของข้อบัญญัติท้องถิ่น --2.6.5 เงื่อนไขการออกข้อบัญญัติท้องถิ่น -2.7 การควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของข้อบัญญัติท้องถิ่น --2.7.1 การควบคุมก่อนใช้บังคับ --2.7.2 การควบคุมหลังใช้บังคับ -2.8 สิทธิของประชาชนในระดับท้องถิ่นต่อการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นในต่างประเทศ --2.8.1 สิทธิของประชาชนในท้องถิ่นต่อการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นในประเทศสหรัฐอเมริกา --2.8.2 สิทธิของประชาชนในท้องถิ่นต่อการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นในประเทศญี่ปุ่น --2.8.3 สิทธิของประชาชนในท้องถิ่นต่อการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นในประเทศฟิลิปปินส์ -2.9 ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง -2.10 กรอบแนวคิดการวิจัย บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย -3.1 วิธีดำเนินการวิจัย -3.2 การวิเคราะห์ข้อมูล บทที่ 4 ผลการศึกษา -4.1 กระบวนการมีส่วนร่วมในการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น --4.1.1 การมีส่วนร่วมของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ --4.1.2 กระบวนการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นในประเทศไทย --4.1.3 กระบวนการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นโดยประชาชน -ตารางที่ 4.1 ตารางเปรียบเทียบกระบวนการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นโดยทั่วไปกับกระบวนการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นโดยประชาชน --4.1.4 ปัญหาในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น --4.1.5 วิเคราะห์แนวทางการแก้ไขปัญหาการมีส่วนร่วมในการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นของประเทศไทย --4.1.6 การเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นในต่างประเทศ ---4.1.6.1 สิทธิของประชาชนในการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นในประเทศสหรัฐอเมริกา ---4.1.6.2 ความเป็นมาและรูปแบบการปกครองท้องถิ่นของประเทศสหรัฐอเมริกา ---4.1.6.3 สิทธิประชาชนในการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นในมลรัฐฟลอริดา ---4.1.6.4 สิทธิประชาชนในการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นในมลรัฐอริโซนา ---4.1.6.5 สิทธิประชาชนในการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นในมลรัฐโคโลราโด --4.1.7 สิทธิของประชาชนในการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นในประเทศญี่ปุ่น --4.1.8 สิทธิของประชาชนในการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นในประเทศฟิลิปปินส์ -4.2 ปัญหาและอุปสรรคในการเสนอร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นของประชาชน --4.2.1 วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการเสนอร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นของประชาชนในท้องถิ่น --4.2.2 วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคเรื่องขั้นตอนการพิจารณาข้อบัญญัติท้องถิ่น --4.2.3 สรุปปัญหาและอุปสรรคในการเข้าชื่อตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2542 --4.2.4 หลักเกณฑ์และวิธีการเข้าชื่อ รวมทั้งการตรวจสอบให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ---4.2.4.1 หลักเกณฑ์และวิธีการเข้าชื่อ การตรวจสอบตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ---4.2.4.2 หลักเกณฑ์และวิธีการเข้าชื่อการตรวจสอบตามพระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2565 --4.2.5 วิเคราะห์เกี่ยวกับจำนวนประชากรในการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น --4.2.6 วิเคราะห์ขั้นตอนการพิจารณาข้อบัญญัติท้องถิ่น --4.2.7 วิเคราะห์เกี่ยวกับกระบวนการ รูปแบบ และขั้นตอนการให้สิทธิประชาชนออกเสียงประชามติรับรองข้อบัญญัติท้องถิ่น --4.2.8 การวิเคราะห์พระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2565 --4.2.9 การเข้าชื่อเสนอกฎหมายท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2565 -ตารางที่ 4.2 เปรียบเทียบพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กับพระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2565 --4.2.10 การประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาพระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2565 -4.3 แนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นโดยประชาชน --4.3.1 การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น --4.3.2 กลไกในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชน --4.3.3 การพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชน บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ -5.1 กระบวนการมีส่วนร่วมในการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -5.2 อภิปรายผลการวิจัย -5.3 ข้อเสนอแนะ บรรณานุกรม ปกหลัง2567-02รายการข้อมูล เปิดให้เข้าถึงได้ รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การมีส่วนร่วมของประชาชนในการออกกฎหมายตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560สลิลธร ทองมีนสุข; เอกสิทธิ์ วินิจกุล; ณภัทร ภัทรพิศาล (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2567)ปกหน้า คำนำ บทสรุปเชิงนโยบาย บทคัดย่อ Abstract สารบัญ สารบัญตาราง สารบัญภาพ บทที่ 1 บทนำ -ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา -วัตถุประสงค์ของการวิจัย -ขอบเขตของการวิจัย -ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรมและกรอบแนวคิดทฤษฎี -การทบทวนวรรณกรรม -กรอบแนวคิดทฤษฎี -ภาพ 1 ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน -กรอบแนวคิดการวิจัย -ภาพ 2 กรอบแนวคิดการวิจัย -สมมุติฐานการวิจัย -สรุปวิเคราะห์ผลการทบทวน บทที่ 3 ระเบียบวิธีการวิจัย -แนวทางและวิธีการวิจัย -ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง -ตาราง 1 ตัวอย่างแบบสำรวจเพื่อประเมินการมีส่วนร่วมขอองประชากรในการรับฟังความคิดเห็น -วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล -แนวความคิดในการวิเคราะห์ข้อมูล -ภาพ 3 แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชนตามกรอบแนวความคิดของ Arnstein (1969) -ตาราง 2 เกณฑ์การประเมินระบบการมีส่วนร่วมของประชาชนตามตัวชี้วัด PCI Index -ตาราง 3 เกณฑ์ที่ 1 โอกาสการเข้าถึง (Access) ในการมีส่วนร่วมของประชาชน -ตาราง 4 เกณฑ์การประเมินประสิทธิผล (Effectiveness) ในการมีส่วนร่วมของประชาชน -ตาราง 5 เกณฑ์การประเมินความรับผิดชอบ (Accountability) ในการมีส่วนร่วมของประชาชน -ตาราง 6 เกณฑ์การประเมินความหลากหลาย (Diversity) ในการมีส่วนร่วมของประชาชน -ตาราง 7 เกณฑ์การประเมินการมีส่วนร่วม/ความสนใจ (Engagement and Interest) บทที่ 4 ผลการวิจัย -กระบวนการตรากฎหมายของประเทศกรณีศึกษาและประเทศไทย -ภาพ 4 กระบวนการออกกฎหมายโดยสภาพคองเกรสโดยสังเขป -ภาพ 5 กระบวนการเสนอกฎหมายโดยหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติ APA 1946 -ตาราง 8 กระบวนการเสนอตรากฎหมายของสหราชอาณาจักร -ภาพ 6 กระบวนการจัดทำกฎหมายของสหราชอาณาจักร -ตาราง 9 กระบวนการเสนอกฎหมายโดยหน่วยงานของรัฐของเกาหลีใต้ -ภาพ 8 กระบวนการเสนอกฎหมายโดยสังเขปของเกาหลีใต้ -ตาราง 10 กระบวนการเสนอกฎหมายดดยฝ่ายนิติบัญญัติ (National Assembly) -ภาพ 9 ขั้นตอนการจัดทำและเสนอร่างกฎหมายของหน่วยงานรัฐ -ภาพ 10 ขั้นตอนการจัดทำและเสนอร่างกฎหมายโดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง -ภาพ 11 ขั้นตอนการจัดทำและเสนอร่างกฎหมายโดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ตาราง 11 การเปรียบเทียบกระบวนการเสนอร่างกฎหมายของต่างประเทศกับประเทศไทย -ตาราง 12 การเปรียบเทียบเอกสารสำหรับการเสนอกฎหมายโดยประชาชนผู้มีสิธิเลือกตั้งและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร -กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในกระบวนการออกกฎหมายของประเทศไทย -ภาพ 12 ภาพรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายที่เสนอโดยหน่วยงานรัฐ -ตาราง 13 ตัวอย่างระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานที่จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นต่อกฎหมาย -ภาพ 13 จำนวนหน่วยงานที่ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายผ่านระบบกลางทางกฎหมาย -ภาพ 14 การรับฟังความคิดเห้นของผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดทำร่างกฎหมายที่เสนอโดยหน่วยงานของรัฐ -ตาราง 14 การรวมฟังก์ชันของระบบกลางทางกฎหมาย -ภาพ 15 ระบบกลางทางกฎหมาย -ตาราง 15 การจำแนกประเภทผู้เกี่ยวข้องตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางกฎหมาย พ.ศ. 2562 -ภาพ 16 ภาพรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรับฟังความคิดเห็นร่างกฎหมายที่เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้มีสิทธิเลือกตั้ง -ภาพ 17 โครงสร้างของคณะอนุกรรมการและคณะทำงานภายใต้คณะกรรมการขับเคลื่อน -ภาพ 18 ภาพรวมกระบวนการรับฟังความคิดเห็นร่างกฎหมายที่เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้มีสิทธิเลือกตั้ง -ภาพ 19 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร -ภาพ 20 ตัวอย่างรูปแบบข้อมูลประกอบการรับฟังความคิดเห็นประกอบร่างกฎหมาย -ภาพ 21 ภาพรวมการพิจารณารับฟังความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายด้วยวิธิการอื่น -ภาพ 22 ภาพรวมการกำหนดผู้เกี่ยวข้องกับร่างกฎหมายที่เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร -ภาพ 23 ภาพรวมกระบวนการดำเนินการต่อผลการตอบรับฟังความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายที่เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้มีสิทธิเลือกตั้ง -ภาพ 24 กรอบการดำเนินงานการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายที่เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้มีสิทธิเลือกตั้ง -ภาพ 25 ระบบสมัครเป็นผู้ให้ความเห็นร่างกฎหมายของสำนักงานเลขาธิการสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร -ภาพ 26 ตัวอย่างอีเมลหนังสือเชิญชวนผู้สมัครให้ความเห็นต่อร่างกฎหมายให้ร่วมให้ความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายในหมวดหมู่ที่สนใจ -ภาพ 27 ตัวอย่างอีเมลหนังสือเชิญชวนผู้สมัครให้ความเห็นต่อร่างกฎหมายให้ร่วมให้ความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายในหมวดหมู่ที่สนใจ -ตาราง 16 การเปรียบเทียบกระบวนการกระบวนการรับฟังความคิดเห็นระหว่างกรณีร่างกฎหมายที่เสนอโดยหน่วยงานของรัฐกับกรณีร่างกฎหมายที่เสนนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้มีสิทธิเลือกตั้ง -ตาราง 17 จำนวนความคิดเห็นและยอดการเข้าชมการรับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย จำแนกรายปี -ภาพ 28 สัดส่วนความคิดเห็นที่มีต่อร่างกฎหมายที่มีความคิดเห็นสูงที่สุด 3 อันดับแรก -เกณฑ์การคำนวนเงินสบทบเข้ากองทุนประกันสังคม และเงินสบทบสูงสุดที่เป็นไปได้ในแต่ละกรณีของผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ของ พระราชบัญญัญติประกันสังคม พ.ศ. 2533 -ภาพ 29 อินโฟกราฟฟิกภาพประกอบการรับฟังความคิดเห็นต่อการร่างกฎกระทรวงกำหนดเพดานค่าจ้างผู้ประกันตนมาตรา 33 -ภาพ 30 สิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นหากปรับเพดานการคำนวณใหม่ -ตาราง 19 หลักการที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเพื่อสอดคล้องกับแนวทางของกลุ่มต่อต้านการฟอกเงินเอเชียแปซิฟิก (APG) -ตาราง 20 แสดงสถิติภาพรวมการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรในการรับฟังความคิดเห็น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562-2566 -ภาพ 31 เปรียบเทียบสัดส่วนจำนวนความคิดเห็นต่อร่างกฎหมาย 3 ฉบับแรกที่มีความเห็นสูงสุดเทียบกับร่างกฎหมายฉบับอื่นๆ -ภาพ 32 กรกระจายตัวของอายุผู้แสดงความคิดเห็นต่อพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดืมแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. -ภาพ 33 การกระจายตัวของลักษณะผู้ตอบแบบสำรวจ ตามอายุ (ปี) -ภาพ 34 สัดส่วนประชาชนที่ทราบช่องทางการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกระบวนการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างกฎหมาย (ร้อยละ) -ภาพ 35 สัดส่ววนประชากรที่ทราบช่องทางในการร่วมรับฟังความคิดเห็นต่อร่างกฎหมาย (เป็นร้อยละ) -ภาพ 36 สัดส่วนประชาชนที่เคยเข้ารับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างกฎหมาย (ร้อยละ) -ภาพ 37 สัดส่วนของประชาชนที่สามารถเข้าใจเอกสารประกอบการรับฟังความคิดเห็น (ร้อยละ) -ภาพ 38 สัดส่วนความสนใจติดตามความเคลื่อนไหวของการเสนอร่างกฎหมาย (ร้อยละ) -ภาพ 39 สัดส่วนความคคคิดเห็นประเด็นด้านความคลอบคลุมของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใดบ้างที่ควรเข้าร่วมกระบวนการรับฟังความคิดเห็น (ร้อยละ) -ภาพ 40 สัดส่วนความคิดเห็นประเด็นด้านการแสดงความคิดเห็นต่อร่างกฏหมายของท่านมีส่วนสำคัญที่มีผลต่อกระบวนการและเนื้อหาของกฎหมาย มากน้อยเพียงใด (ร้อยละ) -ภาพ 41 สัดส่วนการตอบกลับความคิดเห็นต่อร่างกฎหมาย (ร้อยละ) -ภาพ 42 สัดส่วนความคิดเห็นประเด็นด้านการรับฟังความคิดเห็น มีความสำคัญต่อการออกกฎหมายทุกฉบับมากน้อยเพียงใด (ร้อยละ) -ภาพ 43 สัดส่วนความคิดเห็นประเด็นด้านร่างกฎหมายที่มีประชาชนเข้ามาแสดงความคิดเห็นเป็นวงกว้าง จะมีแนวโน้มต่อลำดับการได้รับพิจารณาในขัดถัดไปอย่างไร (ร้อยละ) -ตาราง 21 เกณฑ์กรประเมินโอกาสการเข้าถึงในการมีส่วนร่วมของประชาชน -ตาราง 22 เกณฑ์การประเมินประสิทธิผลในการมีส่วนร่วมของประชาชน -ตาราง 23 เกณฑ์การประเมินความรับผิดชอบในการมีส่วนร่วมของประชาชน -ตาราง 24 เกณฑ์การประเมินความหลากหลายในการมีส่วนร่วมของประชาชน -กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในกระบวนการออกกฎหมายของต่างประเทศ -ตาราง 25 เกณฑ์การประเมินการมีส่วนร่วม/ความสนใจในการมีส่วนร่วมของประชาชน -ภาพ 44 กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน -ตาราง 26 กรอบกฎหมายที่เกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในกระบวนการอื่นๆ -ตาราง 27 ภาพรวมกระบวนการรับฟังความคิดเห็นต่อการร่างกฎหมายของสหราชอาณาจักร -ภาพ 45 ตัวอย่างการเชื่อมโยงจากระบบรับฟังความคิดเห็นของรัฐบาลสหราชอาณาจักรสู่ระบบการรับฟังความาคิดเห็นของหน่วยงาน -ตาราง 28 กระบวนการมีส่วนร่วมของเกาหลีใต้ -ตาราง 29 บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการออกกฎหมายของเกาหลี -ตาราง 30 ช่องทางการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผ่านอิเล็กทรอนิกส์ของสหภาพยุโรป -ภาพ 46 กระบวนการนิติบัญญัติของออสเตรเลีย -ตาราง 31 สรุปสาระสำคัญของเอกสาร "Best Practice Consultation" ของออสเตรเลีย -ภาพ 47 ขั้นตอนการพัฒนาจากนโยบายสู่การเป็นกฎหมายของออสเตรเลีย -ตาราง 32 สรุปกระบวนการรับฟังความคิดเห็นต่อข้อเสนอร่างกฎหมาย (Bill) ของออสเตรเลีย -ภาพ 48 ระบบ Have Your say ของกระทรวงโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง การพัฒนาภูมิภาค การสื่อสาร และศิลปะ ภายใต้รัฐบาลออสเตรเลีย -ภาพ 49 ตัวอย่างการเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายเพิ่มเติมผ่านระบบของรัฐบาลออสเตรเลีย -สรุปและวิเคราะห์ผลการศึกษา -ภาพ 50 ภาพเอกสารในลักษณะที่โปร่งใส ซ้อนกับภาพพื้นหลัง ยากต่อการทำความเข้าใจภาพ -ตาราง 33 การเปรียบเทียบกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประเทศไทยและต่างประเทศ บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ -สรุปและอภิปรายผลการวิจัย -ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนารูปแบบและวิธีการมีส่วนร่วมของประชาชน -ข้อเสนอแนะต่อแนวทางในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการออกกฎหมายที่มีอยู่ปัจจุบัน -แผนปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแสดงความคิดเห็น -ภาพ 51 แผนปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในกรแสดงความคิดเห็น (Action Plan) บรรณานุกรม ภาคผนวก ก. การสัมภาษณ์เชิงลึกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาคผนวก ข. สรุปผลงานวิจัยในรูปแบบอินโฟกราฟิก (Infographic) ประวัติคณะผู้วิจัย2567รายการข้อมูล เปิดให้เข้าถึงได้ รายงานการศึกษาแนวทางการพัฒนากระบวนการรับฟังความคิดเห็นตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคณาธิป ไกยชน; สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักวิชาการ กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา (กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2566-12)2566-12